วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2567 กำหนดเป็นวันเลือกตั้้งสมาชิกสภาเทศบาลนครบุรีรัมย์ และนายกเทศมนตรีนครบุรีรัมย์ ซึ่งเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกนับตั้งแต่เปลี่ยนฐานะเป็นเทศบาลนครบุรีรัมย์ ประชาชนทั่วไปและผู้สิทธิเลือกตั้งฯ จึงอาจสับสนในการเลือกตั้งในครั้งนี้ เทศบาลนครบุรีรัมย์จึงนำคำถามที่ถูกถามบ่อยๆ มาตอบเพื่อให้ประชาชนทั่วไปและผู้มีสิทธิเลือกตั้งฯ เข้าใจในการเลือกตั้งครั้งนี้
การแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งใดที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ เนื่องจากมีเหตุอันสมควร ให้แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งต่อนายทะเบียนอำเภอ หรือนายทะเบียนท้องถิ่นที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน โดยทำเป็นหนังสือซึ่งต้องระบุเลขประจำตัวประชาชน และที่อยู่ตามหลักฐานทะเบียนบ้าน ภายใน 7 วันก่อนวันเลือกตั้ง หรือภายใน 7 วันนับแต่วันเลือกตั้ง สามารถแจ้งด้วยตัวเอง หรือมอบหมายให้ผู้อื่นไปยื่นแทน หรือจัดส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน
เหตุจำเป็นที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้
- มีกิจธุระจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องเดินทางไปพื้นที่ห่างไกล
- เจ็บป่วยและไม่สามารถเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้
- เป็นคนพิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้สูงอายุและไม่สามารถเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้
- เดินทางออกนอกราชอาณาจักร
- มีถิ่นที่อยู่ห่างไกลจากที่เลือกตั้งเกินกว่า 100 กิโลเมตร
- ได้รับคำสั่งจากทางราชการให้ไปปฏิบัติหน้าที่นอกเขตเลือกตั้ง
- มีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุอื่นที่ กกต. กำหนด
-
กรณีที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้แจ้งเหตุไว้แล้ว หากในวันเลือกตั้งเหตุดังกล่าวได้สิ้นสุดลง ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถไปใช้สิทธิเลือกตั้งที่หน่วยเลือกตั้งที่ตนมีสิทธิเลือกตั้งได้
- ผู้มีสิทธิเลือกตั้งใดที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้้งได้ เนื่องจากมีเหตุอันสมควร ให้ดำเนินการแจ้งเหตุ ดังนี้
- ให้แจ้งเหตุต่อ นายทะเบียนท้องถิ่น ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
- โดยทำเป็นหนังสือ ซึ่งต้องระบุ เลขประจำตัวประชาชนที่อยู่ตามหลักฐานทะเบียนบ้าน ดาวน์โหลดเอกสาร ได้ที่นี้
- หรือแจ้งผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เว็บไซต์ www.bora.dopa.go.th หรือ www.ect.go.th
โดยดำเนินการแจ้งเหตุได้ตั้งแต่วันที่ 8 - 22 ธันวาคม พ.ศ. 2567
การเพิ่มชื่อ – ถอนชื่อก่อนการเลือกตั้ง
ก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 10 วัน หรือ (ภายในวันที่ 4 ธันวาคม 2567)
หากพบว่าตนเองหรือผู้มีชื่อยู่ในทะเบียนบ้านของตนไม่มีรายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง หรือเจ้าบ้านเห็นว่ามีชื่อบุคคลอื่นอยู่ในทะเบียนบ้านของตนโดยไม่ได้อาศัยอยู่จริงให้ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนท้องถิ่น เพื่อขอเพิ่มชื่อ – ถอนชื่อ พร้อมนำสำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประชาชนหรือบัตรประจำตัวอื่นใดที่ทางราชการออกให้ไปแสดงด้วย
หากไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง จะถูกจำกัดสิทธิอะไรบ้าง ?
- สมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. หรือ ส.ถ. หรือ ผ.ถ. หรือสมัครรับเลือกเป็น ส.ว.
- สมัครรับเลือกเป็นกำนันและผู้ใหญ่บ้าน
- เข้าชื่อร้องขอให้ถอดถอน ส.ถ. หรือ ผ.ถ.
- ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง และข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
- ดำรงตำแหน่งรองผู้บริหารท้องถิ่น เลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยเลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ประธานที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น ที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น หรือคณะที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น
** การถูกจำกัดสิทธิ กำหนดเวลาครั้งละ 2 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง **
สำหรับใครที่ไม่แน่ใจว่า ตัวเองถูกจำกัดสิทธิ เพราะไม่ได้ไปเลือกตั้งและไม่ได้แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง สามารถตรวจสอบได้ทางเว็บไซต์ของกรมการปกครอง https://boraservices.bora.dopa.go.th/election/absvote/ โดยใส่เลขประจำตัวประชาชน 13 หลักลงไป หากไม่ได้ถูกจำกัดสิทธิ จะมีข้อความเด้งขึ้นมาว่า ไม่พบข้อมูลการถูกจำกัดสิทธิ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 96 บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ในวันเลือกตั้งเป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง
- เป็นภิกษุสามเณรนักพรตหรือนักบวช
- อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งไม่ว่าคดีนั้นจะถึงที่สุดแล้วหรือไม่
- ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคําสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
- วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
มาตรา 144 ระบุไว้ว่า ผู้ใดจงใจกระทําด้วยประการใดๆให้บัตรเลือกตั้งชํารุด หรือเสียหาย หรือ ให้เป็นบัตรเสีย หรือ กระทําด้วยประการใดๆ แก่บัตรเสียเพื่อให้เป็นบัตรที่ใช้ได้ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน100,000 บาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้นั้นมีกําหนด 10 ปี
ถ้าผู้กระทําความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้ดําเนินการเลือกตั้ง ต้องระวางโทษจําคุก ตั้งแต่1-10 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000บาทถึง 200,000 บาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้นั้นมีกําหนด 20 ปี