เทศบาลนครบุรีรัมย์จัดตั้งขึ้นครั้งแรกเป็นเทศบาลเมืองในชื่อ เทศบาลเมืองบุรีรัมย์ ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งตราขึ้นเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ซึ่งในขณะนั้นมีพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา, เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) และพลเอก เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน (อุ่ม พิชเยนทรโยธิน) เป็นคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และมีพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) เป็นนายกรัฐมนตรี โดยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479

ต่อมาเมื่อท้องถิ่นเจริญขึ้น มีชุมชนอยู่หนาแน่นทั้งในเขตและนอกเขตเทศบาลที่ต่อเนื่องกัน สมควรปรับปรุงเขตเทศบาลเสียใหม่ เพื่อขยายเขตให้เทศบาลได้ปกครองและทะนุบำรุงท้องถิ่น จึงได้ตราพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ลงวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2504 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยมีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 มีเนื้อที่รวม 6 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลในเมืองทั้งหมด

ต่อมาในวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2567 อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ออกประกาศกระทรวงมหาดไทย 3 ฉบับ มีสาระสำคัญเกี่ยวกับการเปลี่ยนแนวเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ โดยยุบรวมเทศบาลตำบลอิสาณทั้งหมด รับโอนพื้นที่บางส่วนขององค์การบริหารส่วนตำบลเสม็ด และเปลี่ยนแปลงฐานะจากเทศบาลเมืองขึ้นเป็น เทศบาลนครบุรีรัมย์ มีผลตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม

อำนาจหน้าที่ของเทศบาลเมืองบุรีรัมย์

อํานาจหน้าที่ของเทศบาล ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 14)  พ.ศ. 2562  ได้กำหนดอำนาจของเทศบาล ดังต่อไปนี้

  1. อํานาจหน้าที่ตามกฎหมายจัดตั้งเทศบาลกําหนด
    สามารถแบ่งแยกประเภทอํานาจหน้าที่ของเทศบาลไว้เป็น 2 ส่วน คือ หน้าที่บังคับหรือหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติ และ อํานาจหน้าที่ ที่เลือกปฏิบัติ

มาตรา 50 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายเทศบาล มีหน้าที่ต้องทำในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้

  • รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
  • ให้มีและบำรุงทางบกและทางน้ำ

(2/1)  รักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย การดูแลการจราจร และสิ่งเสริม สนับสนุนหน่วยงานอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว

  • รักษาความสะอาดของถนน หรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
  • ป้องกันและระงับโรคติดต่อ
  • ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง
  • จัดการ ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา ศาสนา และการฝึกอบรมให้แก่ประชาชน รวมทั้งการจัดการหรือสนับสนุนการดูแลและพัฒนาเด็กเล็ก
  • ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
  • บำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
  • หน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล
    การปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของเทศบาลต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนโดยใช้วิธีการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี และให้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาล การจัดทางบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง การตรวจสอบ การประเมินผลการปฏิบัติงานและการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับว่าด้วยการนั้นและหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด

มาตรา 53  ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลเมือง มีหน้าที่ต้องทำในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้

(1)  กิจการตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๕๐
(2)  ให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา
(3)  ให้มีโรงฆ่าสัตว์
(4)  ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์และรักษาคนเจ็บไข้
(5)  ให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ
(6)  ให้มีและบำรุงส้วมสาธารณะ
(7)  ให้มีและบำรุงการไฟฟ้า หรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
(8)  ให้มีการดำเนินกิจการโรงรับจำนำหรือสถานสินเชื่อท้องถิ่น

(9)  จัดระเบียบการจราจร หรือร่วมมือกับหน่วยงานอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว

มาตรา 54  ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลเมือง อาจจัดทำกิจการใด ๆ ในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้

(1)  ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม
(2)  ให้มีสุสานและฌาปนสถาน
(3)  บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร
(4)  ให้มีและบำรุงการสงเคราะห์มารดาและเด็ก
(5)  ให้มีและบำรุงโรงพยาบาล
(6)  ให้มีการสาธารณูปการ
(7)  จัดทำกิจการซึ่งจำเป็นเพื่อการสาธารณสุข
(8)  จัดตั้งและบำรุงโรงเรียนอาชีวศึกษา
(9)  ให้มีและบำรุงสถานที่สำหรับการกีฬาและพลศึกษา
(10)  ให้มีและบำรุงสวนสาธารณะ สวนสัตว์ และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
(11)  ปรับปรุงแหล่งเสื่อมโทรม และรักษาความสะอาดเรียบร้อยของท้องถิ่น
(12)  เทศพาณิชย์

 

  1. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
    มาตรา 16  ให้เทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบลมีอานาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองดังนี้

(1)  การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
(2)  การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ
(3)  การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ
(4)  การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่น ๆ
(5)  การสาธารณูปการ
(6)  การส่งเสริม การฝึก และประกอบอาชีพ
(7)  การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน
(8)  การส่งเสริมการท่องเที่ยว
(9)  การจัดการศึกษา
(10)  การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส
(11)  การบารุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
(12)  การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
(13)  การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
(14)  การส่งเสริมกีฬา
(15)  การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
(16)  ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
(17)  การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
(18)  การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย
(19)  การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
(20)  การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน
(21)  การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
(22)  การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์
(23)  การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัยโรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่น ๆ
(24)  การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดินทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(25)  การผังเมือง
(26)  การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร
(27)  การดูแลรักษาที่สาธารณะ
(28)  การควบคุมอาคาร
(29)  การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(30)  การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
(31)  กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด

 

  1. อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายเฉพาะอื่น ๆกำหนด

นอกจากอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 กำหนดไว้แล้วยังมีกฎหมายเฉพาะอื่นๆ กำหนดให้เทศบาลมีอำนาจ หน้าที่ดำเนินกิจการให้เป็นไปตามกฎหมายนั้นอีกเป็นจำนวนมาก เช่น

– พระราชบัญญัติป้องกันภยันตราย อันเกิดแก่การเล่นมหรสพ พ.ศ.2464

– พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2534

– พระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ.2535

– พระราชบัญญัติควบคุมการใช้อุจจาระทำปุ๋ย พ.ศ.2490

– พระราชบัญญัติควบคุมการโฆษณา โดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ.2493

– พระราชบัญญัติป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ.2495

– พระราชบัญญัติป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ.2535

– พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534

– พระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าและจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ.2535

– พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535

– พระราชบัญญัติจัดระเบียบการจอดยานยนต์ในเขตเทศบาลและสุขาภิบาล พ.ศ.2503

– พระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ.2508

– พระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ.2510

– พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ.2518

– พระราชบัญญัติควบคุมอาหาร พ.ศ.2522

– พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2523

– พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ.2523

– พระราชบัญญัติรักษาคลองประปา พ.ศ.2526

– พระราชบัญญัติสุสานและณาปนสถาน พ.ศ.2528

– ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 44 ลงวันที่ 11 มกราคม 2502

– ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 68 ลงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2515 (กฎหมายว่าด้วยการควบคุมการจอดเรือในแม่น้ำลำคลอง)

– ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515 (กฎหมายว่าด้วยทางหลวง)

– ประมวลกฎหมายที่ดิน (ซึ่งได้รับมอบหมายให้ดูแลรักษาที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทที่รกร้างว่างเปล่าตามคำสั่ง กระทรวงมหาดไทยที่ 890/2498

 

 

เมนูหลัก