ตลาดไนท์บาซาร์ เทศบาลเมืองบุรีรัมย์
๑.ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อตลาด ตลาดไนท์บาซาร์เทศบาลเมืองบุรีรัมย์ เลขที่ - ถนน จิระ
หมู่ที่ - ตำบล ในเมือง อำเภอ เมือง จังหวัด บุรีรัมย์
รหัสไปรษณีย์ ๓๑๐๐๐ โทรศัพท์ ๐๔๔-๖๑๑๔๙๖ โทรสาร ๐๔๔-๖๑๑๓๙๖
เลขที่ใบอนุญาต ไม่มี มี เลขที่ใบอนุญาต -
วันที่ออก - วันหมดอายุ - ออกโดย -
ประเภทตลาด ๑ พิกัดทางภูมิศาสตร์ N ๑๔.๙๙๒๙๒ E ๑๐๓.๑๐๘๐๔ ไปที่นี่คลิก
ชื่อ-สกุล (ผู้รับใบอนุญาต/ดูแล) เทศบาลเมืองบุรีรัมย์ ตำแหน่ง -
ที่อยู่ ๙ ถนน รมย์บุรี หมู่ที่ - ตำบล ในเมือง อำเภอ เมือง
จังหวัด บุรีรัมย์ รหัสไปรษณีย์ ๓๑๐๐๐ โทรศัพท์ ๐๔๔-๖๑๑๔๙๖
โทรสาร ๐๔๔-๖๑๑๓๙๖
๒.รายละเอียดตลาด
ก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๖ และเริ่มเปิดให้บริการเมื่อวันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๗
ลักษณะตลาด เป็นตลาดที่ประกอบด้วยตลาดที่ต่อเนื่องกันบนเนื้อที่ ๒๐ ไร่ จำนวน ๓ ตลาด ได้แก่
๑. ตลาดค้าส่ง พื้นที่ ๑,๔๒๑ ตร.ม. จำนวนแผงทั้งหมด ๕๔ แผง
จำนวนผู้ประกอบการค้า ๒๕ ราย ค่าเช่าแผง ๓๐๐ – ๕๐๐ บาท
๒. ตลาดค้าปลีก พื้นที่ ๔,๒๑๘ ตร.ม.
๓. ตลาดไนท์บาซาร์ พื้นที่ ๓,๕๐๐ ตร.ม.
เวลาเปิดทำการช่วงเวลา ๑๑.๐๐ - ๐๕.๐๐ น.
๓.ความเป็นมา
ตลาดสดค้าส่ง-ค้าปลีกและตลาดไนท์บาซาร์เทศบาลเมืองบุรีรัมย์ แต่เดิมเป็นตลาดที่จัดตั้งขึ้น
บริเวณถนนพิทักษ์ หน้าสำนักงานเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ (หลังเก่า) มีการจำหน่ายสินค้าประเภทอาหาร เสื้อผ้า กิ๊ฟช็อปและสินค้าอื่นๆ โดยประกาศเป็นจุดผ่อนผัน ให้จำหน่ายสินค้าตั้งแต่เวลา ๑๕.๐๐ น. – ๐๒.๐๐ น. เป็นประจำทุกวัน ประกอบกับบริเวณถนนอิสาณข้างวัดกลางพระอารามหลวง ได้มีประชาชนไปตั้งวางจำหน่ายสินค้าตั้งแต่เวลา ๑๕.๐๐ น. – ๐๗.๐๐ น. เป็นประจำทุกวัน ซึ่งการจำหน่ายสินค้าทั้ง ๒ จุด ทำให้เกิดปัญหาการกีดขวางการจราจรของประชาชน บ้านเมืองสกปรก ขาดความเป็นระเบียบเรียบร้อย
ดังนั้น เทศบาลเมืองบุรีรัมย์จึงได้ดำเนินการก่อสร้างตลาดแห่งใหม่ บนเนื้อที่ ๒๐ ไร่ เพื่อรองรับผู้ประกอบการค้าทั้ง ๒ แห่ง และเป็นการสนองนโยบายของรัฐบาลเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชน ซึ่งเทศบาลฯ ได้เปิดโอกาสให้ประชาชนที่มีฐานะยากจนและประสงค์จะขายสินค้าในตลาดแห่งใหม่มาลงทะเบียน เพื่อให้มีตลาดที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ เป็นตลาดสดน่าซื้อของจังหวัดบุรีรัมย์ โดยเริ่มก่อสร้างในปี ๒๕๔๖ และเสร็จสมบูรณ์เปิดให้บริการในวันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๗
ตลาดสด เทศบาลเมืองบุรีรัมย์
๑. ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อตลาด ตลาดสดเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ เลขที่ - ถนน สุนทรเทพ
หมู่ที่ - ตำบล ในเมือง อำเภอ เมือง จังหวัด บุรีรัมย์
รหัสไปรษณีย์ ๓๑๐๐๐ โทรศัพท์ ๐๔๔-๖๑๑๔๙๖ โทรสาร ๐๔๔-๖๑๑๓๙๖
เลขที่ใบอนุญาต -
วันที่ออก - วันหมดอายุ - ออกโดย -
ประเภทตลาด ๑ พิกัดทางภูมิศาสตร์ N ๑๔.๙๙๒๙๒ E ๑๐๓.๑๐๘๐๔ ไปที่นี่คลิก
ชื่อ-สกุล (ผู้รับใบอนุญาต/ดูแล) เทศบาลเมืองบุรีรัมย์ ตำแหน่ง -
ที่อยู่ ๙ ถนน รมย์บุรี หมู่ที่ - ตำบล ในเมือง อำเภอ เมือง
จังหวัด บุรีรัมย์ รหัสไปรษณีย์ ๓๑๐๐๐ โทรศัพท์ ๐๔๔-๖๑๑๔๙๖
โทรสาร ๐๔๔-๖๑๑๓๙๖
๒. รายละเอียดตลาด
ก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๕ และปรับปรุงโครงสร้างใหม่เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๔๒
ลักษณะโครงสร้าง เหล็ก หลังคาสูงโปร่ง มีระบบท่อระบายน้ำ ลักษณะตลาด เป็นตลาดที่ประกอบด้วยตลาดที่ต่อเนื่องกัน ๓ ตลาด ได้แก่
๑. ตลาดเทศบาล ๑ พื้นที่ ๒,๘๐๐ ตร.ม.
๒. ตลาดเทศบาล ๒ (ตลาดชัยพฤกษ์) พื้นที่ ๔๔๘ ตร.ม.
๓. ตลาดเทศบาล ๓ (ตลาดเขียงหมูบน) พื้นที่ ๒๓๐ ตร.ม.
๓. ความเป็นมา
ตลาดสดเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ เป็นตลาดสดแห่งเดียวในเขตอำเภอเมืองบุรีรัมย์ ที่มีการ
จำหน่ายอาหารสด อาหารแปรรูป อาหารแห้ง เสื้อผ้าและสินค้าอื่นๆ ครบวงจร จึงได้รับความนิยม จากประชาชนเป็นจำนวนมาก ตลาดสดเทศบาลประกอบด้วยตลาดที่อยู่ต่อเนื่องกัน ๓ ตลาด คือ ตลาดเทศบาล ๑ ตลาดเทศบาล ๒ (ตลาดชัยพฤกษ์) และตลาดเทศบาล ๓ (ตลาดเขียงหมูบน)
การจัดตั้งตลาดสดเทศบาลครั้งแรก ไม่มีหลักฐานการจัดตั้งเมื่อใด แต่มีการก่อสร้างโครงอาคารเป็นโครงอาคารไม้ ประมาณ ปี ๒๕๐๕ มีพื้นที่ ๑,๒๙๖ ตร.ม. มีเพิงต่อเติมจากตัวอาคารด้านตะวันตก ตะวันออกและด้านทิศใต้ เมื่อตลาดมีอายุการใช้งานยาวนานจึงมีสภาพชำรุดทรุดโทรม ไม่ถูกสุขลักษณะ ประกอบกับการเจริญเติบโตของเมืองทำให้คับแคบ จึงมีการปรับปรุงโครงสร้างใหม่ในปี ๒๕๔๒ งบประมาณ ๘,๐๐๐,๐๐๐ บาท โดยเปลี่ยนโครงสร้างหลังคาให้สูงโปร่งขึ้น จัดทำท่อระบายน้ำ ทางเดินรื้อ เพิ่งที่ต่อเติมด้านตะวันตก ตะวันออกและด้านทิศใต้ แล้วจัดทำโครงหลังคาเป็นอาคารเดียวกัน จัดทำแท่นเขียงหมู เขียงเนื้อและผักสดใหม่ มีพื้นที่รวม ๒,๘๐๐ ตร.ม.